รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน คอนโด

: บริการให้คำปรึกษาแหล่งเงินทุน สำหรับท่านมีหลักทรัพย์ ที่ต้องการจำนอง-ขายฝาก ด้วยความเร่งด่วน สำหรับท่านที่มี บ้าน ที่ดิน คอนโด ทาว์นเฮาท์ ต้องการ แปลงเป็นทุน เรายินดีให้บริการด้วยความเป็นกันเอง สามารถติดต่อได้ที่ 090-282-9965 Line ID : 0902829965
จำนอง คืออะไร

จำนองคือการประกันหนี้ด้วยทรัพย์ ผู้จำนองจะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ จะจำนองเป็นประกันหนี้ของตนหรือของผู้อื่นก็ได้

วิธีจำนอง

การจำนองต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น จำนองที่่ดินก็จดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ แต่ไม่ต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนอง

แม้จะมีข้อตกลงห้ามไว้ในสัญญาจำนองว่าห้ามจำนองซ้ำ ผู้จำนองก็ยังนำทรัพย์สินที่จำนองไว้แล้วไปจำนองแก่ผู้อื่นในระหว่างที่สัญญาจำนองฉบับแรกยังมีอายุได้

ทรัพย์สินที่จำนองได้

- อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้านเรือน เรือกสวน ไร่นา ตลอดจนทรัพย์อื่นที่ติดอยู่กับที่ดินเป็นการถาวรด้วย
- อสังหาริมทรัพย์ บางชนิดตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้ว เช่น เรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพที่ใช้อยู่อาศัย สัตว์พาหนะ หรือเครื่องจักรที่ติดตั้งอยู่ในโรงงาน เป็นต้น

ผลของการจำนอง

- เจ้าหนี้ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น (ยกเว้น เจ้าหนี้บุริมสิทธิซึ่งเป็นเรื่องซับซ้อนและไม่เคยเกิดขึ้น จึงไม่กล่าวถึง)
- ผู้จำนองยังคงมีสิทธิครอบครองและได้ดอกผลจากทรัพย์ที่จำนอง จนกว่าผู้รับจำนองจะบอกกล่าวบังคับจำนอง
- การจำนองยังคงอยู่ตลอดไป ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองไม่ว่าเวลาผ่านไปนานเพียงใด แม้หนี้เงินกู้จะขาดอายุความไปแล้ว (อายุความฟ้องร้องคดีหนี้เงินกู้มีกำหนด 10 ปี) แต่ถ้าหนี้ที่จำนองเป็นหนี้มีประกันนั้นขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้เรียกค่าดอกเบี้ยที่ค้างได้เพียง 5 ปี
- โดยหลักทั่วไปเจ้าหนี้สามารถบังคับจำนองเฉพาะทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนจำนองไว้เท่านั้น หากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ หนี้นั้นก็เป็นอันระงับไป เว้นแต่ได้ตกลงกันไว้เป็นพิเศษว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดในหนี้จำนวนที่ยังขาดอยู่จนครบถ้วน (เจ้าหนี้นอกระบบซึ่งเป็นเจ้าหนี้มืออาชีพ จะให้ลูกหนี้ทำข้อตกลงพิเศษเช่นนี้ไว้ทั้งนั้น)
- หากขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เงินเกินกว่าจำนวนหนี้ ต้องคืนเงินส่วนที่เหลือให้แก่ลูกหนี้

การบังคับจำนอง

เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะเข้าครอบครองหรือยึดทรัพย์ที่จำนองเองไม่ได้จะต้องดำเนินการเป็นขั้นตอน คือ เจ้าหนี้ต้องมีจดหมายไปถึงผู้จำนองให้ชำระหนี้ภายในเวลาที่สมควร โดยกำหนดเวลาให้ เมื่อครบกำหนดแล้วผู้จำนองหรือลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ผู้รับจำนองจะต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับจำนองอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

- บังคับจำนองโดยวิธีปกติ คือ ขอให้ศาลพิพากษายึดทรัยพ์จำนองออกขายทอดตลาด เอาเงินมาใช้หนี้ หรือ
- ขอให้ศาลพิพากษาให้ทรัพย์จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองโดยมีเงื่อนไข ดังนี้

1. ลูกหนี้ไม่จ่ายดอกเบี้ยติดต่อกั้นถึง 5 ปี
2. ราคาของทรัพย์ที่จำนองน้อยกว่านี้
3. ลูกหนี้ไม่ได้เอาทรัพย์นั้นไปจำนองไว้กับคนอื่น

หากได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่แรกว่า หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ให้ผู้รับจำนองเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนองหรือจัดการแก่ทรัยพ์ที่จำนองเป็นประการอื่น นอกจากฟ้องบังคับจำนองตามที่่กล่าวข้างต้น ข้อตกลงนั้นใช้บังคับไม่ได้